5 ข้อคิดการทำงานของคนญี่ปุ่น

ณ ตลาดปลาสึคิจิ
หากใครกำลังเบื่องาน ไม่รักงาน เกลียดงาน ไม่อยากไปทำงาน แนะนำให้ดูหนังเรื่องนี้ "อัศจรรย์ตลาดปลาสึคิจิ - Tsukiji Wonderland"
หนังสารคดีเรื่องนี้ให้พลังที่ไม่ธรรมดา ชีวิตผู้คนที่ตลาดปลาสึคิจิเมืองโตเกียวเริ่มต้นหลังเที่ยงคืน ... สถานที่ที่ทั้งแฉะทั้งหนาวทั้งวุ่นวาย แต่ทำไมผู้คนถึงมีชีวิตชีวา ตั้งใจและทุ่มเทได้ขนาดนั้น
ผู้เขียนมีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้ และเกิดแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการทำงานของคนญี่ปุ่นที่ตลาดปลาสึคิจิ จึงอยากจะแบ่งปันข้อคิดให้อ่านกัน
1. PASSION
ทุ่มเทสุดหัวใจ
คนที่นั่น “อิน” กับงานของตัวเองสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นคนขายปลา พ่อค้าคนกลาง พ่อครัว คนทำน้ำแข็งขาย พวกเขารักงานของตัวเอง และต่างต้องการทำในส่วนของตัวเองให้ดีที่สุด
พวกเขามาที่ตลาดตั้งแต่เที่ยงคืน ตีหนึ่ง เพื่อให้มั่นใจว่าเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว “มาตรฐาน” ดูเหมือนจะเป็นคำที่ซีเรียสมากๆ เพราะหากขึ้นชื่อว่าเป็นผลงานมาจากพวกเขาแล้ว รับประกันได้ว่า มันจะต้องเป็นของดี คนขายปลาต้องแนะนำของดีให้ลูกค้า พ่อค้าคนกลางต้องประมูลปลาที่ดีที่สุดมาให้ได้ เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าของตัวเอง
กลับมาถามตัวคุณเองว่า ... งานทุกชิ้นที่ส่งออกไปจากคุณมีมาตรฐานมากน้อยแค่ไหน
2. MASTER
รู้ลึกจนใครก็หลอกไม่ได้
พ่อค้าคนกลางมีความรู้เรื่องปลาแบบลึกสุดๆ เพียงแค่มองด้วยตาเปล่า หรือสัมผัสด้วยมือก็จะรู้ได้ทันทีว่าปลาตัวนี้คุณภาพดีแค่ไหน มีไขมันมากน้อยแค่ไหน จะรสชาติดีแค่ไหน คนขายปลาที่ต้องรู้ลักษณะปลาในแต่ละฤดูกาล แนะนำลูกค้าได้ว่าควรเลือกแบบไหน เอาไปประกอบอาหารแบบไหนจึงจะอร่อยที่สุด เชฟรู้วิธีแล่ปลาและเก็บรักษาปลาเพื่อให้รสชาติอยู่ในจุดที่ดีที่สุด
การอดทนทำในสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ มานานแสนนานกลับทำให้พวกเขาพัฒนาความเป็น “ปรมาจารย์” ในสิ่งที่พวกเขาทำ
กลับมาถามตัวคุณเองว่า ... คุณ “รู้” เกี่ยวกับงานที่ตัวเองทำดีแค่ไหน บางคนบ่นว่าเบื่องาน ทั้งๆ ที่ยังมีความรู้ในงานนั้นแค่หางอึ่ง และยังไม่ทันได้เรียนรู้หรือมีทักษะอะไรเลยด้วยซ้ำ
3. RESPONSIBILITY
หน้าที่อันยิ่งใหญ่
หน้าที่สำหรับคนที่ตลาดปลาสึคิจิไม่ใช่แค่ที่เขียนไว้ใน Job Description ที่หัวหน้าหรือองค์กรคาดหวังจากพวกเขา แต่ “หน้าที่” ในที่นี้หมายถึงหน้าที่ในฐานะที่พวกเขาเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ของประเทศ
พ่อค้าคนกลางมีหน้าที่เสาะหาอาหา