top of page

ส่อง 10 แนวโน้มการเรียนรู้ในปี 2019

ส่อง 10 แนวโน้มการเรียนรู้ในปี 2019

เข้าสู่เดือนที่สองของไตรมาสแรกแห่งปี ถึงเวลาที่เหล่า HR หรือ ทีมนักพัฒนาศักยภาพองค์กร

จะต้องมาทบทวน “รูปแบบการฝึกอบรมพนักงาน” ในปีที่ผ่านๆ มา รวมถึงคงต้องเริ่มที่จะสอดส่องแล้วว่า

ในปี 2019 นี้จะมี “ช่องทางในการพัฒนาคน” ที่น่าสนใจอะไรบ้าง เพื่อให้เม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์ของบริษัท ถูกนำใช้ไปในเครื่องมือที่ตอบโจทย์ “คนของเรา” ให้มากที่สุด

ผู้เขียนได้รวบรวม “10 แนวโน้มการเรียนรู้ในปี 2019” นี่อาจจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้องค์กรของคุณ กลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในปีหน้าก็เป็นได้

1. EVEN MORE SOFT SKILLS TRAINING แน่นอนว่า SOFT-SKILLS ยังคงเป็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอ หากองค์กรใดต้องการที่จะเติบโต

อย่างมั่นคงและยั่งยืน ต้องไม่เขียมงบประมาณบริษัท ที่จะเติมเต็มทักษะเหล่านี้แก่พนักงาน “อย่างสม่ำเสมอ” ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการสื่อสาร,ทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น,ทักษะการบริหารเวลา,ทักษะการควบคุมอารมณ์ หรือแม้แต่ ทักษะการคิดเชิงบวก เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ทักษะเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากต่อบริษัท เนื่องจากชีวิตเราไม่ได้ทำงานอยู่แต่กับข้อมูล เอกสาร หรือองค์ความรู้ แต่เรายังทำงานกับ “ผู้คน” ทั้งลูกค้า

คู่ค้า คู่แข่ง ฯลฯ ดังนั้น HARD SKILLS อย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ แต่แทนที่จะรอให้สถานการณ์หรือความท้าทายเกิดขึ้นกับองค์กร สู้ฝัง SOFTWARE ทางความคิดที่ถูกต้อง ให้พนักงานได้เรียนรู้วิธีรับมือไว้ก่อน

แต่เนิ่นๆ ย่อมเป็นเป็นผลดีต่อบริษัทมากมายหลายเท่าตัว!

2. EVEN MORE PERSONALIZED TRAINING EXPERIENCES แนวทาง ‘ONE SIZE FITS ALL’ (รูปแบบหนึ่งเดียวที่เหมาะกับทุกคน) กำลังค่อยๆ เลือนหายไปจากวงการ

ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร เนื่องด้วยผู้คนต่างพากันเรียกร้อง “ความเฉพาะตัว” มากขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งบริษัทและองค์กร ที่ในแต่ละปีต่างก็มีปัญหาและความขัดแย้งในองค์กรที่ไม่เหมือนกันเลยสักปี!

เผลอๆ ไตรมาสหนึ่งผ่านไป ปัญหาใหม่ก็เข้ามาทักทายอีกแล้ว ดังนั้น โปรแกรมฝึกอบรมที่ออกแบบ

เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล หรือออกแบบเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาในประเด็นที่ต้องการพัฒนา จึงให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า นอกจากจะช่วยองค์กรแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ยังถือเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ช่วยให้บริษัทประหยัดงบประมาณในการอบรมในแต่ละปีได้มากขึ้น

3. LEARNING AND DEVELOPMENT GAMIFICATION วงการฝึกอบรมเริ่มเข้าสู่ยุค GAME-BASED หลายๆ บริษัทได้มีการจัดฝึกอบรมพนักงานโดยใช้รูปแบบของ “เกมส์” เข้ามาช่วย มีการใช้ ROLE-PLAYING (บทบาทเสมือน) และการมอบ REWARD (รางวัล) ว่าง่ายๆ

ก็คือเป็นการเล่นเกมส์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์บางอย่างของบทเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้การฝึกอบรมมีสีสันและน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งเกมที่กำลังได้รับความนิยมเป็นพิเศษและได้กลายมาเป็นเครื่องมือฝึกอมรมพนักงานแนวใหม่ นั่นก็คือ BOARD GAME (เกมกระดาน) ที่จะมีหัวข้อ ปัญหา และความท้าทายที่แตกต่างกันออกไป เรียกได้ว่าเป็นแนวทางการอบรมที่ประหยัดแรงผู้สอน ขณะเดียวกันก็สร้างความสนุกสนานให้กับผู้เรียน

ทำให้การเข้าถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. SELF-COACHING รูปแบบการเรียนรู้เฉพาะด้าน หรือเครื่องมือพัฒนาตัวเองที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะประเด็น

ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถนำไปปร