top of page

3 อาวุธลับ ทำให้คุณเป็น Specialist

3 อาวุธลับ ทำให้คุณเป็น Specialist

สำหรับยุคนี้สมัยนี้ คำว่า “ทั่วไป” (General) ถูกลดทอน Value ลงไปถนัดตา กลายเป็นเพียงมาตรฐานภาคบังคับระดับต้นที่ทุกคนต้องมีกันไปแล้ว เพราะการทำงานด้วยแนวคิดของยุคอุตสาหกรรมได้ผ่านพ้นไปหลายสิบปี ในขณะที่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและภูมิปัญญาความรู้มาถึง ความสามารถที่ต้องการเป็นพิเศษกลับเป็นทักษะในระดับเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่รู้ลึก รู้จริง เก่งครบเครื่องในสิ่งที่ทำ ในแบบที่เรามักเรียกกันติดปากว่า Guru บ้าง หรือ Expert บ้าง ภายใต้ชื่อในการทำงานที่เหมือนเป็นคำนำหน้านามว่า “Specialist”

ด้วยความสามารถที่สูงกว่า ทักษะที่เชี่ยวชาญกว่า และความรู้ที่ลึกซึ้งมากกว่า แน่นอนว่าคนที่เป็น Specialist ย่อมเป็นที่ต้องการตัวสำหรับธุรกิจ องค์กร หรือแม้แต่ในระดับอุตสาหกรรม ที่มาพร้อมรายได้ค่าตอบแทนที่ขยับสูงกว่าคนทำงานทั่วไปหลายเท่าตัว นี่ยังไม่นับรวม Connection พันล้านกับคนทำงานระดับสูงอย่างผู้บริหาร CEO และเจ้าของธุรกิจ ที่ติดไม้ติดมือมาด้วย

เมื่อเห็นข้อดีรัวมาเป็นชุดขนาดนี้ คงทำเอาหลายคนอยากจะก้าวหน้าขึ้นไปเป็น Specialist กันพอสมควร แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรากลับได้เห็นคนที่อยู่ในระดับมาตรฐานตามค่าเฉลี่ยทั่วไปมีอยู่นับไม่ถ้วน ขณะที่คนที่อยู่ในจุดที่พิเศษนั้นกลับมีอยู่เพียงแค่หยิบมือ ซึ่งเมื่อเอามาเทียบสัดส่วนกันแล้วอาจมีไม่ถึง 10% เลยด้วยซ้ำ ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่ามันคงเป็นกันได้ไม่ง่ายสินะ ?

ใช่ครับ คุณคิดถูกแล้ว การจะขึ้นไปอยู่ในระดับท็อป ๆ แบบนั้นได้ ฟ้าคงไม่ได้ประทานมาให้ถึงที่แบบฟรี ๆ อย่างแน่นอน แต่คนเหล่านั้นต้องแลกมาด้วยความมุมานะกว่าคนส่วนใหญ่ ต้องเพียรพยายามและเหน็ดเหนื่อยกว่าคนทั่วไป ซึ่งถ้าใครอดทนตรงนี้ได้ไม่มากพอ อาจต้องขอลงกลางทางไปซะก่อน แต่ถ้าใครที่มุ่งมั่นจริง ๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมากครับ เพราะอันที่จริงแล้วคนที่สามารถไปต่อจนถึงระดับ Specialist ได้ เขามีปัจจัยดังต่อไปนี้เป็นอาวุธลับคู่กายด้วยกันทั้งสิ้น

1. Passion

Passion หรือความสนใจ หลงใหลเป็นพิเศษในเรื่องนั้น ๆ ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญชิ้นแรกสุด ที่จะเป็นแรงผลักดันให้คุณทำในสิ่งยาก ๆ ทุกอย่างที่จะตามมา จนสามารถพัฒนาจนไปถึงบันไดขั้นที่เชี่ยวชาญกว่าคนส่วนใหญ่ เป็นอาวุธลับที่ทำให้คน ๆ หนึ่งเต็มใจมุมานะ เพียรพยายามอย่างหนัก เพื่อพาตัวเองดำดิ่งลงไปในมหาสมุทรแห่งสาขาอาชีพที่สนใจ อยากแหวกว่ายเรียนรู้ให้ทั่วถึงลงลึก ซึ่งเรื่องแบบนี้ใช่ว่าจะใช้เวลาแค่ 2 – 3 วันก็จะไปถึง แต่ต้องอาศัยการศึกษาและทำงานกับมันอย่างหนัก จึงจะบรรลุจนชำนาญได้ และสำหรับคนที่ไม่มีใจย่อมไม่มีไฟมากพอจะไปถึงจุดนั้นได้สำเร็จ จึงเรียกได้ว่าหากคุณขาดข้อนี้ไป ข้อ 2 และ 3 ต่อจากนี้ก็ทำได้ยากกว่าคนที่มี Passion พอสมควรครับ

2. รู้ลึก รู้จริง ยิ่งกว่าใคร

จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น Specialist หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษนั้น การมีความรู้ ทักษะแค่ระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับคนทั่วไปย่อมไม่เพียงพออย่างแน่นอนครับ ซึ่งนอกจากความรู้ในตำรายังต้องขยันค้นหาประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการเอาตัวเองเข้าไปคลุกคลีกับปัญหาเฉพาะด้าน คร่ำหวอดกับเรื่องนั้น ๆ ให้มากพอ โปรดปรานที่จะแสวงหาวิธีการหรือทางออกที่สร้างสรรค์ หรือการไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ออกไปทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมวงการเพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน รวมไปถึงการสำรวจวิจัย เก็บสถิติ รวบรวมตัวอย่าง ศึกษา Case Study ที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดนวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาประดับวงการ ทั้งหมดนั้นคือการฝึกฝนสั่งสมชั่วโมงบินที่มากพอเป็นหมื่น ๆ ชั่วโมง จนกลายเป็นอาวุธหนักติดตัวในฐานะ ‘Specialist’ แต่หากว่าคุณไม่ยอมเรียนรู้เพิ่มเติม ไม่ชอบอัพเดตสิ่งใหม่ ๆ หมุนตามโลกไม่ทัน ก็หมดสิทธิ์ที่จะเป็น Specialist ไปโดยปริยายครับ

3. อ่านเกมทะลุปรุโปร่ง

เพราะความเข้าใจในสิ่งที่คุณรู้ลึกถึงรากเหง้ายังไม่เพียงพอ แต่ต้องรู้ทันเข้าใจถึงความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง Client , ผู้รับบริการ หรือลูกค้า รู้ไปถึงลูกค้าของลูกค้าด้วยว่าต้องการอะไร แบบไหน เพื่อเพื่อเลือกสรรเอาสิ่งที่สั่งสมในคลังความรู้ของคุณออกมาเสนอได้อย่างเหมาะสมที่สุด คือเรียกได้ว่าอ่านเกมออกทะลุปรุโปร่งหมดทุกประตู สนอได้อย่างเหมาะสมที่สุด้วยว่าต้องการอะไร แบบไหน่เพียงพอ แต่ 2 และ 3 ต่อจากนี้ก็ทำได้ยากกว่าคนที่มี ่อจนถึงระดับ

- ‘ที่ปรึกษาด้านบัญชี’ ที่ตอบโจทย์รักษาผลประโยชน์ของลูกค้า ในขณะที่รู้ใจสรรพากรด้วย

- ‘นักพัฒนาองค์กร’ ที่เข้าใจเป้าหมายที่องค์กรจะมุ่งไป เข้าใจธรรมชาติของคนในองค์กร รู้ว่าใช้กลยุทธ์อะไรที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่

- ‘นักการตลาด’ ที่เข้าใจในสิ่งที่ธุรกิจต้องการนำเสนอ อีกทั้งเข้าใจปัญหา ประโยชน์ ที่ลูกค้าของเขาอยากได้รับ

- ‘Creative Production’ ที่ตีโจทย์แตกในการนำเสนอ และยังรู้ใจลูกค้าด้วยว่าอยากดู อยากเห็นอะไร ในรูปแบบไหน

ดังที่จะเห็นได้ว่าทุกอาชีพล้วนมีโจทย์ปัญหาที่ต้องเข้าใจ มีผู้ที่ต้องเกี่ยวข้อง รวมถึงลูกค้าที่รับผลอยู่ตรงปลายทาง การวิเคราะห์ พิจารณา วางแผนให้ตอบโจทย์พวกเขาเหล่านั้นทั้งหมดจึงถือเป็นงานใหญ่ที่มีความหลากหลายในมิติการทำงาน คนเป็นผู้เชี่ยวชาญจึงต้องวางแผนคิดให้ครบรอบด้าน เพื่อรับผิดชอบผลลัพธ์ในวงกว้างที่ใหญ่กว่าแค่ตัวเขาเองครับ

P. T. Barnum เจ้าของธุรกิจคณะละครสัตว์ระดับตำนานของสหรัฐอเมริกา ได้เขียนประโยคหนึ่งเอาไว้ในหนังสือ The Art of Money Getting ของเขาเองว่า “ทุกอาชีพนั้นในชั้นใต้แน่นจนไม่มีที่จะยืน แต่บนชั้นสูง ๆ นั้นไม่ค่อยจะมีคน ไม่มีอาชีพไหนหรือธุรกิจใดไม่มีที่ว่างสำหรับคนมีความสามารถ” ดังนั้นยิ่งถ้าคุณมีทักษะความสามารถในระดับสูงเป็นพิเศษ ย่อมจะมีที่ยืนและโอกาสที่ดีกว่าคนอื่น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งอันที่จริงมันก็เป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็ปรารถนาที่จะได้มากันทั้งนั้น แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ โลกเราประกอบไปด้วยคน 3 ประเภท ‘ประเภทแรก’ คือคนที่ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร อย่างไร ‘ประเภทที่ 2’ คือคนที่รู้แล้วแต่ไม่ยอมลงมือทำอะไรสักอย่าง และ ‘ประเภทที่ 3’ คือคนที่ลงมือทำเอาจริงเอาจังด้วยความทุมเท ซึ่งในเมื่อคุณเองก็ได้รู้ถึงปัจจัยไปสู่ความก้าวหน้าในแบบ Specialist ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็อยู่แค่ว่าจะลงมือทำหรือเปล่าเท่านั้นเอง

bottom of page