3 องค์ประกอบความสำเร็จในการบริหารคนรุ่นใหม่ ผ่าน Self-Leadership & Action

“เรื่องเล่าจากผู้นำ ....ความสำเร็จในการบริหารคนรุ่นใหม่ ผ่าน Self-Leadership & Action Learning Project เรื่องราวคำสอนผ่านโครงการในพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9” การบริหารคนรุ่นใหม่ เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ใครๆต่างให้ความสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของการดูแลเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เรียกว่า Gen Y หรือ Gen Z ว่าทำอย่างไรเราถึงจะสามารถบริหารและดูแลคนกลุ่มนี้ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพที่สุด หลายๆบริษัทเริ่มที่จะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และที่สำคัญ คน Generation นี้เริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในองค์กร เพราะคนในรุ่นนี้เริ่มเข้ามาเป็นตำแหน่งสำคัญๆในบริษัท และเริ่มมีสัดส่วนในบริษัทมากขึ้นทุกทีๆ จากการสำรวจจากหลายๆที่พบว่า หลากหลายองค์กร เริ่มมีจำนวนสัดส่วนคนรุ่น Gen Y มากถึง 50-60% และคนกลุ่ม Gen X เริ่มลดน้อยถอยลงไปทุกทีๆ และที่สำคัญ คนรุ่น BB หรือ Baby Boomer เริ่มจะเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายๆองค์กรจึงเริ่มหันมาจริงจังกับการดูแลและบริหารพนักงานใน Gen นี้ และที่สำคัญ มันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันก็ไม่ยากจนเกินความสามารถของบริษัทแนวคิดใหม่ๆ ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนและแก้ไขอย่างแน่นอน จากประสบการณ์การทำงานด้านที่ปรึกษามาจากหลากหลายบริษัท ทำให้พบว่า องค์กรที่จะองค์กรที่พร้อมปรับตัว และ เจอคนใน Gen ใหม่ๆแบบนี้ที่น่า Challenge อย่างตลอดเวลา โดยเฉพาะในเรื่องของการยอมรับการบริหารความแตกต่าง ตัวอย่างนี้ สามารถเห็นความสำเร็จแบบจับต้องได้ เรียกว่าเป็นองค์กรแห่งการสร้างและพัฒนาผู้นำยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก จากบริษัท Aon Hewitt ซึ่งเป็นรางวัลระดับ South East Asia โดยรางวัลนี้จะจัดประกวดทุก 2 ปีและจะมีการมอบรางวัลสำหรับองค์กรที่มีแนวทาง รวมถึงรูปแบบการสร้างผู้นำอย่างโดดเด่นตามมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยมีแนวคิดที่โดดเด่นชัดเจนในการบริหารความแตกต่าง หรือ Diversity โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้าง Self-Leadership สำหรับพนักงานทุกคนในองค์กร ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น จากการศึกษาและความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับเด็กรุ่นใหม่ และรู้ว่าคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่มีความอดทนต่ำ ทุกอย่างต้องทันใจ ทันความต้องการ ชัดเจน ต้องการความสำเร็จที่จับต้องได้อย่างรวดเร็ว เค้าเติบโตมากับเทคโนโลยี อยากได้อะไรทำเลย อยากหาอะไร Google ตอบได้ การจะมารอพิสูจน์รักเป็นปีๆ คงจะเป็นเรื่องยาก สำหรับคนกลุ่มนี้ และที่สำคัญ แนวคิดเรื่องการสร้าง Self-Leadership ยังส่งผลในเรื่องของ Engagement ที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย บริษัทยาข้ามชาติแห่งหนึ่งที่ได้รับรางวัล องค์กรแห่งการสร้างและพัฒนาผู้นำยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก จากบริษัท Aon Hewitt ในการสร้าง Self-Leadership ผ่านกิจกรรมที่มีความน่าสนใจ ผ่านการทำโครงการ ที่เรียกว่า Action-Based Learning หรือ Action Learning Project (ALP) โดยที่ทุกคนจะมีอิสระในการเลือกโปรเจคที่อยากจะทำโดยมี Theme ที่องค์กรกำหนดไว้ให้เบื้องต้น เช่น Business Strategy , Branding แต่ที่ฮิตที่สุดสำหรับคนกลุ่มนี้ ต้องโครงการเกี่ยวกับ CSR : Corporate Social Responsibility การทำ CSR ไม่ใช่แค่ว่าทำอะไรเพื่อสังคมและชุมชนเท่านั้น แต่ต้องมีองค์ประกอบ 3 ด้านนี้ ครบถ้วน นั้นคือ ท้าทาย (Challenging) สร้างสรรค์ (Creative) และ สร้างเครือข่าย (Networking) ท้าทาย (Challenging)
เป็นความชัดเจนที่เราได้รับทราบจากผู้บริหารที่ชัดที่สุดคือเรื่องของงบประมาณ (Budget) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริง ว่าในการทำงานทุกอย่าง เรามีทรัพยากรที่จำกัด (Limited Resource) ทำอย่างไรถึงจะบริหารทรัพยากรที่เรามีจำกัดนั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากที่สุด นี่คือความท้าทายข้อแรก ซึ่งจากการบอกเล่าพบว่า ส่วนใหญ่แล้วพนักงานที่เข้าร่วมโครงการจะเอางบประมาณที่ได้ไปวางแผนว่าจะใช้อะไรยังไงก่อน หากไม่พอ จะคิดแผนต่อไปว่า จะเอางบประมาณที่ได้ไปต่อยอดอย่างไรดี ที่ผ่านมามีทั้งการไปรับซื้อลอตเตอรี่มาขาย ไปเช่าชุด เพื่อออกคอนเสริต์ตาม Shopping Mall ต่างๆ เพื่อระดมทุนเอาเงินมาต่อยอด หรือบางครั้ง การไปพูดคุยกับองค์กรที่เราต้องการไปช่วยเหลือก่อน เพื่อให้รู้ความต้องการของเค้าจริงๆ ก่อนที่จะเอามาวางแผน แล้วจัดแคมเปญเพื่อขอความร่วมมือกับเพื่อนพนักงานโดยตรง เช่น การไปช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่อยากได้ตุ๊กตา เครื่องเขียน ทางพนักงานที่เข้าร่วมโครงการก็จะเอาข้อมูลทั้งหมด ลงในประกาศภายในองค์กร เพื่อให้เพื่อนพนักงานที่มีของเหลือใช้สภาพดีเหล่านั้น มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำบุญโดยตรง สร้างสรรค์ (Creative)
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้แบบ Action-Based Learning หลายๆองค์กร น่าจะเคยได้มีโอกาสไปร่วมปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือ สร้างปอดให้ประเทศไทยของเรา แต่เพียงการปลูกป่าอย่างเดียวไม่ได้ตื่นเต้นอะไร เมื่อ Project Team คิดมากไปกว่านั้นว่า จะมีสักกี่องค์กร ที่ปลูกป่าเสร็จ แล้วจะได้มีโอกาสกลับไปดูว่าต้นกล้าที่เราปลูกตอนนี้เติบโตมากน้อยแค่ไหน ทีมนี้เป็นการรวมตัวกันของคนหลากหลาย Generation และกลุ่ม New Gen นี่แหละ ที่เป็นต้นคิด ว่าเราควรกลับไปดูก่อนไหม ว่ามีที่ไหนไปปลูกป่า ป่าเค้าเป็นยังไงบ้างแล้ว .... ผลออกมาตามคาด ว่าต้นกล้าเหล่านั้น มันไม่ได้เติบโตไปเป็นป่าสีเขียวอย่างที่เราตั้งใจ แต่จะด้วยสาเหตุใดๆกันล่ะ .... วิเคราะห์ๆๆหาข้อมูล พบว่า ต้นกล้าส่วนใหญ่ที่ใช้ เป็นต้นกล้าที่ทางหน่วยงานต่างๆเตรียมมาให้ เลยอาจจะไม่แข็งแรงมากพอ ทางทีมจึงคิดได้ว่า ถ้าเราเริ่มตั้งแต่เพาะชำกล้า ให้รู้ว่ามันแข็งแรงจริงๆ แล้วค่อยเอามาปลูกล่ะ และหลังจากนั้นเราก็มาติดตามผล จนเค้าโตเองได้ และเค้าจะเป็นป่าสีเขียวต่อให้เราในอนาคต จึงเกิดมาเป็นโครงการเพาะชำต้นกล้า ก่อนไปปลูกป่าของทุกคนในโปรเจคทีม สร้างเครือข่าย (Networking)
เป็นผลพลอยได้ที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมากสำหรับการทำโครงการในรูปแบบ Action-Based Learning เพราะหลังจากการทำโครงการเหล่านี้ การทำงานต่างๆที่เคยยาก กลับง่าย เจอหน้ากันมิตรภาพก็เกิดขึ้น อยู่แผนกไหน ส่วนงานไหนก็ได้กลับมาแต่รอยยิ้ม และนี่แหละ คือการพัฒนาผ่านรูปแบบ 70-20-10 จากการทำโครงการต่างๆเหล่านี้ อย่างแท้จริง เพราะ 70% ที่ทำคือการเรียนรู้ผ่านการทำงานหรือประสบการณ์ (On the job learning/experience) 20% คือการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from others) และอีก 10% คือการเรียนรู้ผ่านการอบรมอย่างเป็นทางการ (Learning from formal learning)
นี่เป็นเพียงน้ำจิ้มอันน้อยน