top of page

4 เหตุผลที่คนวัยเก๋าควรเป็นผู้ประกอบการ


old man is riding a bike to work

เดือนที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายในงาน Aging 2.0 ที่ออฟฟิศฮิบ ๆ ของ Ananda Development ซึ่งมีคุณกรณ์ จาติกวณิชร่วมเป็นหนึ่งในแขกรับเชิญบนเวที คุณกรณ์ให้ข้อมูลทางสถิติที่น่าสนใจว่า ในอีกประมาณหลักสิบปีประเทศไทยจะเหลือประชากรในวัยทำงานเพียง 50% ที่เหลือก็จะเป็นวัยเด็กและวัยชรา พูดง่าย ๆ อีกไม่กี่ปีเราจะเหลือพลเมืองเพียงครึ่งเดียวที่ทำงานเลี้ยงคนที่เหลือ คิดดูสิว่าคนทำงานจะต้องทำงานเหนื่อยขนาดไหน

อย่างที่ทุกคนคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าทั่วทั้งโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังย่ำเท้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากอัตราการเกิดลดน้อยลงมาก ซึ่งแนวโน้มนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างที่กระทบสังคมและความเป็นอยู่ของทุกคนในทุกภาคส่วน รวมถึงอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่กำลังเกิดขึ้น คือ ชีวิตภายหลังจากการเกษียณของคนวัยห้าสิบขึ้นไป พวกเขาจะไปอยู่ที่ไหนและจะทำอะไร โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของกองทุนที่จะเลี้ยงชีพไปจนสิ้นอายุขัยที่มีไม่เพียงพอ และสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลที่ยังไม่เอื้อเฟื้อต่อคนวัยเกษียณเท่าไหร่นัก


จากความจำเป็นที่ว่ามานี้ ทำให้คนทำงานวัยเกษียณหลาย ๆ คนต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้มีงานทำ หรือมีรายได้ต่อ แต่อีกทางเลือกหนึ่งคือการเริ่มธุรกิจของตัวเอง การเป็น Freelance หรือการเป็นผู้ประกอบการนั่นเอง


และนี่คือ 4 เหตุผลที่คนวัยเกษียณควรเป็นผู้ประกอบการ


เหตุผลที่ 1: หลายหน่วยงานจึงหันมาให้ความสำคัญและพยายามที่จะช่วยเหลือในส่วนที่ตัวเองทำได้ หนึ่งในนั้นคืองานวิจัยที่โพสใน HBR.com เรื่อง Starting a Business Can Increase Older Workers’ Quality of Life (Even When It Doesn’t Pay Well) โดย Maria Minniti, Teemu Kautonen และ Ewald Kibler กลุ่มนักวิจัยเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งพวกเขาได้ทำการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับ Late-career workers หรือกลุ่มคนทำงานในระยะใกล้เกษียณ ที่ใช้เวลาเก็บข้อมูลถึงสิบปีกับคนทำงานประจำวัย 50-67 ปีในประเทศอังกฤษ จำนวน 2,851 คน และสิ่งที่พวกเขาค้นพบนั้นน่าสนใจมากทีเดียว

หลังจากคนกลุ่มนี้ทำงานประจำได้ระยะหนึ่ง ทีมวิจัยติดตามและพบว่า มีคน 115 คนลาออกเพื่อไปเริ่มธุรกิจตัวเอง 464 คนเปลี่ยนงานใหม่ และ 2,272 คนทำงานในตำแหน่งเดิม หลังจากนั้นจึงเก็บข้อมูลเพื่อวัดคุณภาพชีวิต ซึ่งพบว่า กลุ่มที่เปลี่ยนงานใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งเดิมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ คนที่ลาออกเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการกลับมีระดับคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดในบรรดาสามกลุ่ม


เหตุผลที่ 2: ถึงแม้จะได้รับค่าตอบแทนที่น้อยกว่าเดิม หรือมีชั่วโมงการทำงานที่มากขึ้น แต่กลับพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่วัยเก๋าเหล่านี้กลับรู้สึกว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการได้ค้นพบตัวเองและรู้จักศักยภาพของตัวเองมากขึ้นด้วย โดยบางคนอาจเพิ่งค้นพบความฝัน หรือ Passion ของตัวเองเอาตอนหลังเกษียณแล้วก็ได้


เหตุผลที่ 3:

การได้เริ่มทำงานของตัวเอง หรือยังทำงานอยู่ ผู้สูงอายุจะได้รับประโยชน์ในแง่ของการที่ยังได้พบปะผู้คนและเข้าสังคม ซึ่งดีกว่าให้คนทำงานวัยเก๋าทนทู่ซี้ทำงานเดิมที่ตัวเองไม่ได้รักอีกต่อไป (หรือแม้กระทั่งอยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไรทำ) ที่ยิ่งจะทำให้เกิดภาวะเหงา ซึมเศร้า และหดหู่ยิ่งกว่าเดิม หากพวกเขาไม่ได้ออกไปพบผู้คน


เหตุผลที่ 4: การใช้ชีวิตโดยมีเป้าหมายและมีเรื่องให้ทำเสมอยังช่วยให้ผู้คนไม่ว่าวัยไหน ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีพลัง เห็นได้จากการศึกษาประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะโอกินาวาประเทศญี่ปุ่น เกาะที่มีประชากรอายุยืนจำนวนมาก นอกจากเรื่องอาหารการกินและไลฟ์สไตล์ที่เอื้อต่อการมีชีวิตดี ๆ แล้ว พวกเขายังมีปรัชญาการใช้ชีวิตด้วยคำว่า อิคิไก (生きがい) หรือ “เหตุผลที่เราลืมตาตื่นขึ้นมาในทุกเช้า” หมายถึง แต่ละคนมีเหตุผลในการมีชีวิตบนโลกใบนี้ ด้วยการทำอาชีพที่ตัวเองรักและสร้างสรรค์คุณค่าให้กับคนอื่น ๆ ด้วย พูดง่าย ๆ ว่า แม้พวกเขาจะอายุเท่าไหร่แล้วก็ตามแต่พวกเขายังมีภารกิจให้ต้องทำมากมาย นั่นอาจเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาอายุยืน ตราบใดที่พวกเขาไม่เครียดจนเสียสุขภาพ

นั่นเป็นอีกเหตุผลที่เราควรสนับสนุนให้คนวัยเก๋ายังได้รับโอกาสในการทำงานที่ตัวเองมีความสุขและมี Passion นั่นเอง

ทีมวิจัยกลุ่มนี้จึงมีข้อเสนอ